วันอาทิตย์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

การเร่งอัตราการเกิดปฏิกิริยา-2[Rate of reaction]

2.Temperature
  อุณหภูมิ(temperature)ในที่ที่มีอุณหภูมิสูงนั้นปฏิกิริยาเคมีเกิดได้เร็วกว่าในที่ที่อุณหภูมิต่ำแสดงว่าอุณหภูมิมีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี หมายความว่าเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นอัตราการเกิดปฏิกิริยาจะมีค่าเพิ่มขึ้น  และเมื่ออุณหภูมิลดลงอัตราการเกิดปฏิกิริยาจะมีค่าน้อยลง  ตามทฤษฎีจลน์อธิบายได้ว่า  เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น โมเลกุลของแก๊สในระบบจะมีพลังงานจลน์สูงขึ้นจึงทำให้เคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วเพิ่มขึ้น  และการเคลื่อนที่ที่รวดเร็วนั้นจัทำให้โมเลกุลของสารนั้นมีโอกาสที่จะชนกันมากขึ้น แล้วเมื่อโมเลกุลของสารมาชนกันจะทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมีขึ้น ดังนั้นอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีจึงสูงขึ้น
รูปการเร่งอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีโดยการเพิ่มอุณหภูมิ
  ในรูปแรกนั้นคือสภาพของโมเลกุลของสารในการเกิดปฏิกิริยาเคมีแบบปกติทั่วไป แต่ในรูปที่สองนั้นจะเกิดกรเร่งปฏิกิริยาเคมีโดยการเพิ่มอุณหภูมิโดยที่โมเลกุลจะเปลี่ยนพลังงานความร้อนที่ได้ให้กลายเป็นพลังงานจลน์โดยจะทำให้การเกิดเคลื่อนที่และชนกันมากขึ้นและเป็นการเร่งอัตราปฏิกิริยา

วันเสาร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

การเร่งอัตราการเกิดปฏิกิริยา[Rate of reaction]

1.catalyst
  ตัวเร่งปฏิกิริยา (catalyst)  จะสามารถเพิ่มอัตราการเกิดปฏิกิริยาโดยเพิ่มอุณหภูมิหรือความเข้มข้นของสารตั้งต้น ความหมายของตัวเร่งปฏิกิริยาว่าเป็นสารที่ทำให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาสูงขึ้นโดยที่สารตัวเร่งปฏิกิริยาสามารถกลับคืนสู่รูปเดิมได้ ตัวเร่งปฏิกิริยาอาจจะเข้าทำปฏิกิริยาแล้วเกิดเป็นสารมัธยันตร์ (intermediate) แต่ก็จะกลับคืนรูปเดิมได้ในปฏิกิริยาย่อยขั้นต่อๆ ไป
  อัตราการเกิดปฏิกิริยาที่ถูกเร่งจะสูงกว่าอัตราการเกิดปฏิกิริยาที่ไม่มีตัวเร่ง เพราะตัวเร่งปฏิกิริยาจะช่วยเพิ่มเส้นทางที่มีพลังงานก่อกัมมันต์ของปฏิกิริยาลดลง ทำให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาสูงขึ้น แต่พลังงานรวมของสารตั้งต้นและสารผลิตภัณฑ์จะไม่เปลี่ยนแปลง ดังแสดงในกราฟ