วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2559

Happy New Year !!!!

Happy New Year !!!!
  สวัสดีปีใหม่นะครับทุกๆคน วันนี้ผลจะมาพูดเรื่องความเป็นมาของวันปีใหม่นะครับบ

 วันปีใหม่ เป็นวันแรกของปีตามปฏิทินแบบเกรกอเรียน ตรงกับวันที่ ๑ มกราคมของทุกปีความหมายของวันขึ้นปีใหม่ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายของคำว่า " ปี" ไว้ดังนี้ ปี หมายถึง เวลา ชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว ๓๖๕ วัน : เวลา ๑๒ เดือนตามสุริยคติ
ความเป็นมาของ วันขึ้นปีใหม่

   ในอดีต วันขึ้นปีใหม่ของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว ๔ ครั้งคือ ครั้งแรกถือเอาวันแรม ๑ ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ซึ่ง ตรงกับเดือนมกราคม ครั้งที่ ๒ กำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ ตามคติพราหมณ์ ซึ่งตรงกับเดือนเมษายน การกำหนดวันขึ้นปีใหม่ใน ๒ ครั้งนี้ ถือเอาทางจันทรคติเป็นหลัก ต่อมาได้ถือเอาทางสุริยคติแทน โดยกำหนดให้วันที่ ๑ เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๓๒ เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะตามชนบทยังคงยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็น วันขึ้นปีใหม่อยู่ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางราชการเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่วันที่ ๑ เมษายน ไม่สู้จะมีการรื่นเริงอะไรมากนัก สมควรที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่จึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๗ ขึ้นใน กรุงเทพฯเป็นครั้งแรก การจัดงานวันขึ้นปีใหม่ที่ได้เริ่มเมื่อวันที่ ๑ เมษายน ได้แพร่หลายออกไปต่างจังหวัดในปีต่อๆมา และในปี พ.ศ. ๒๔๗๙ ก็ได้มีการ จัดงานรื่นเริงปีใหม่ทั่วทุกจังหวัด วันขึ้นปีใหม่วันที่ ๑ เมษายน ในสมัยนั้นทางราชการเรียกว่า วันตรุษสงกรานต์ ต่อมาได้มีการพิจารณาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น ซึ่งมีหลวงวิจิตรวาทการ เป็นประธานกรรมการ ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ ๑ มกราคม โดยกำหนดให้วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๔ เป็น วันขึ้นปีใหม่เป็นต้นไป