วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การเร่งอัตราการเกิดปฏิกิริยา-3[Rate of reaction]

3.Surface Area

พื้นที่ผิวจะมีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี จากการศึกษาเกี่ยวกับการเกิดปฏิกิริยาของโลหะแมกนีเซียมกับกรดไฮโดรคลอริกจะได้แก๊สไฮโดรเจน จากการทดลองพบว่า เมื่อเปลี่ยนความยาวของลวดแมกนีเซียม อัตราการเกิดปฏิกิริยาจะเพิ่มขึ้น


ถ้าทำให้ลวดแมกนีเซียมมีขนาดเล็กลงจากเดิม จะพบว่าปฏิกิริยาจะเกิดขึ้นได้เร็วกว่าแมกนีเซียมที่เป็นแผ่น
ซึ่งถือได้ว่าพื้นที่ผิวจะมีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี แต่พื้นที่ผิวจะมีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาในสารเนื้อผสม(heterogeneous)เท่านั้น

4.Pressure

ความดันมีผลต่อปฏิกิริยาในกรณีปฏิกิริยาที่เกี่ยวกับแก๊ส คือ เมื่อเพิ่มความดัน จะเป็นการเพิ่มพลังงานจลน์ในแต่ละโมเลกุลซึ่งเมื่อโมเลกุลมีพลังงงานจลน์มากจนถึงระดับหนึง โมเลกุลของแก๊สจะมาชนกันมากขึ้นจะมีอัตราการเกิดปฏิกิริยาเร็วขึ้น คล้ายกับกลไลการเร่งปฏิกิริยาด้วยอุณหภูมิ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น