วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การทดลองเรื่องอัตราการเกิดปฏิกิริยา

การทดลองการเกิดอัตราการเกิดปฏิกิริยา

ปัญหา : พื้นที่ผิวของสสารที่เป็นของแข็งจะมีผลต่ออัตราการเกิดปิฏิกิริยาหรือไม่?
จุดประสงค์ : การทดลองนี้ทำขึ้นเพื่อศึกษาปัจจัยด้านพื้นที่ผิวที่มีผลต่ออัตราเร็วของการเกิดปฏิกิริยา
สมมติฐาน : ถ้าพื้นที่ผิวมีผลต่อการอัตราเกิดปฏิกิริยาแล้วชอล์กที่บดเป็นผงละเอียดจะทำปฏิกิริยาที่                          รวดเร็วกว่าชอล์กที่ไม่ได้บดเป็นผงจนละเอียด
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง : อัตราการเกิดปฏิกิริยา (Rate of Reaction)
อุปกรณ์ : 1.ชอล์ก 1 แท่ง
               2.กรดไฮโดรคลอริกเจือจาง
               3. บีกเกอร์ 3 ใบ
               4.นาฬิกาจับเวลา
ตัวแปรต้น : พื้นที่ผิวชอล์ก
ตัวแปรตาม : การทำปฏิกิริยาระหว่างชอล์กและกรดไฮโดรคลอริก
ตัวแปรควบคุม : ความเข้มข้นและปริมาตรของกรดไฮโดรคลอริก,ขนาดของชอล์ก,
                          ขนาดของบีกเกอร์,อุณหภูมิ,ความดัน
วิธีการทดลอง : แบ่งการทดลองเป็น 3 ชุด โดยเตรียมกรดไฮโดรคลอริกในความเข้มข้นและปริมาตรที่                              เท่ากันใส่ไว้ในบีกเกอร์ทั้ง 3 ใบที่ได้เตรียมไว้ และแบ่งชอล์กเป็น 3 ส่วนเท่าๆกัน โดยใบ                          แรกนำชอล์กที่แบ่งไว้มาบดให้ละเอียด ส่วนใบที่สองนำชอล์กที่แบ่งไว้ มาหักเป็น 2 ส่วน                          เท่าๆกัน ส่วนใบที่สามไม่ต้องหักหรือบดให้ละเอียด เริ่มจับเวลาในการทดลองโดยนำ                              ชอล์กทั้ง 3 ส่วนที่เตรียมไว้ลงไปในกรดไฮโดรคลอริกพร้อมกันและบันทึกผลการ                                      ทดลอง

                     

ผลการทดลอง : ในบีกกอร์แรกที่ได้บดชอล์กอย่างละเอียดการปฏกิริยาและสิ้นสุดปฏิกิริยาอย่างรวดเร็ว                             ต่อมาเป็นบีกเกอร์ที่สอง และบีกเกอร์ที่สาม เกิดปฏิกิริยาได้ช้าที่สุด
สรุปผลการทดลอง : พื้นที่ผิวมีผลต่อการเกิดปฏกิริยาโดยสังเกตได้จากการที่ชอล์กที่บดละเอียดนั้นทำ                                    ปฏิกิริยาได้เร็วกว่าชอล์กที่ไม่ได้บดในชุดการทดลองที่สองและสาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น