วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การทดลองการเกิดอัตราการเกิดปฏิกิริยา

ปัญหา : ความเข้มข้นจะมีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาหรือไม่?
จุดประสงค์ : การทดลองนี้ทำขึ้นเพื่อศึกษาปัจจัยด้านความเข้มข้นที่มีผลต่ออัตราเร็วของการเกิดปฏิกิริยา
สมมติฐาน : ถ้าความเข้มข้นมีผลต่อการอัตราเกิดปฏิกิริยาการทดลองชุดที่มีความเข้มข้นของHCLมากที่สุดจะทำปฏิกิริยาที่รวดเร็วกว่าในชุดการทดลองที่มีความเข้มข้นของHCLน้อยที่สุด
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง : อัตราการเกิดปฏิกิริยา (Rate of Reaction)
อุปกรณ์ : 1.โซเดียมไทโอซัลเฟต
               2.กรดไฮโดรคลอริกเจือจาง
               3. บีกเกอร์ 3 ใบ
               4.นาฬิกาจับเวลา
ตัวแปรต้น : ความเข้มข้นของHCL
ตัวแปรตาม : การทำปฏิกิริยาระหว่างโซเดียมไทโอซัลเฟตและกรดไฮโดรคลอริก
ตัวแปรควบคุม : ปริมาตรของน้ำในการละลายโซเดียมไทโอซัลเฟต,
                          ขนาดของบีกเกอร์,อุณหภูมิ,ความดัน
วิธีการทดลอง : แบ่งการทดลองเป็น 3 ชุด โดยเตรียมกรดไฮโดรคลอริกในความเข้มข้นและปริมาตรที่                              ต่างกันเพื่อใส่ไว้ในบีกเกอร์ทั้ง3 และแบ่งโซเดียมไทโอซัลเฟตเท่าๆกัน โดยในใบแรกใส่กรดไฮโดรคลอริก 1หยด ส่วนใบที่สองนำกรดไฮโดรคลอริกหยดลวไป 5 หยด ส่วนใบที่สามใส่กรดไฮโดรคลอริก 10 หยด เริ่มจารการเตรียมสารละลายโซเดียมไทโอซัลเฟตในความเข้มข้นที่เท่าๆกันก่อนและเริ่มจับเวลาในการทดลองโดยเริ่มจับเวลาขณะใส่กรดไฮดดรคลอริกลงไปในสารละลายโซเดียมไทโอซัลเฟตและบันทึกผลการทดลอง        
ผลการทดลอง : ในบีกกอร์สุกท้ายที่ได้หยดกรดไฮโดรคลอริกไปเป็นจำนวน10หยดการปฏิกิริยาและสิ้นสุดปฏิกิริยาอย่างรวดเร็ว ต่อมาเป็นบีกเกอร์ที่สอง และบีกเกอร์แรก เกิดปฏิกิริยาได้ช้าที่สุด
สรุปผลการทดลอง : ความเข้มข้นมีผลต่อการเกิดปฏกิริยาโดยสังเกตได้จากการที่ได้หยดกรดไฮดดรคลอริกไป10หยดปฏิกิริยาได้เร็วกว่าการทดลองที่หยดไป5หยดและ1หยดในชุดการทดลองที่สองและในชุดการทดลองแรก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น