วันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

บทความวิทยาศาสตร์-2[ไข่ขาวVSไข่แดง ไข่สุกVSไข่ดิบ]

  ความเชื่อเรื่องการรับประทานไข่ดิบหรือการโดบด้วยไข่ดิบแล้วจะให้กำลังที่มากกว่านั้นยังมีอยู่มาก แต่ในความเป็นจริงแล้วไข่ดิบหรือไข่สุก ไม่ได้มีปริมาณสารอาหารอะไรที่แตกต่างกันเลย ถ้าใครสงสัยว่าจริงหรือไม่
ไข่ขาวVSไข่แดง
  ไข่ขาวนั้นถือได้ว่าแทบไม่มีไขมัน รวมทั้งยังให้ปริมาณแคลอรี่ที่ต่ำมากเพียง 48 แคลอรี่ ส่วนไข่แดงนั้นมีไขมันถึง 26.5 กรัม และมีแคลอรี่สูงถึง 317 แคลอรี่ ทำให้ไข่แดงนั้นมีกรดไขมันอย่างโอเมก้า3 228 มิลลิกรัม และโอเมก้า6 3,538 มิลลิกรัม ส่วนไข่ขาวไม่มีเลย นอกจากนั้นไข่แดงยังมีปริมาณคลอเรสเตอรอล 1,234 มิลลิกรัม ในขณะที่ไข่ขาวไม่มีเลย รวมทั้งปริมาณแร่ธาตุต่างๆไข่แดงก็มีมากกว่าไข่ขาวทุกอย่าง ยกเว้นปริมาณโซเดียม ที่ไข่ขาวมีมากกว่าไข่แดง 4 เท่า
  โดยสรุปได้ว่าไข่ขาวนั้นให้พลังงานน้อยกว่าไข่แดง แต่ว่าไข่แดงนั้นมีแร่ธาตูมากกาว่าไข่ขาว
ไข่สุกVSไข่ดิบ
 เมื่อเปรียบเทียบปริมาณสารอาหารของไข่ไก่ดิบ และไข่ไก่สุกที่ผ่านกระบวนการจากการลวกหรือต้มให้สุกนั้นพบว่าปริมาณสารอาหารต่างๆไม่แตกต่างกันเลย จากข้อมูลนี้เองจึงบอกได้ว่าปริมาณสารอาหารที่ได้จากการโดบด้วยไข่ดิบนั้นไม่ได้มีผลใดๆต่างจากไข่สุกเลย

  ไข่ดิบยังนำพาเชื้อโรค มาให้ผู้บริโภคได้อีกด้วย เพราะอาจปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ โดยเฉพาะไก่ที่เลี้ยงในฟาร์มที่ไม่ถูกสุขลักษณะนั้นจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงของการปนเปื้อนจากเชื้อแบคทีเรีย Salmonella ที่ก่อให้เกิดอาการท้องร่วงได้
  และสุดท้ายเมื่อดูโทษจากการบริโภคไข่ขาวดิบ กรมอนามัยรายงานว่า “ไข่ขาวดิบ” จะขัดขวางการดูดซึมไบโอติน ทำให้ย่อยยากร่างกายจึงได้รับประโยชน์ไม่เต็มที่ ไบไอติน (Biotin) หรือวิตามิน H เปนวิตามินที่ละลายน้ำ และถูกจัดใหอยูในกลุมเดียวกันกับวิตามินบี แบคทีเรียที่อาศัยอยูในลําไสใหญของเราจะสามารถสรางไบโอติน เพื่อใชประโยชนในรางกายของเราได รวมถึงในอาหารที่รับประทานมักจะมีไบโอตินเพียงพอ 

สรุป ไข่ขาวนั้นจะได้พลังงานน้อยกว่าและได้โปรตีนมากกว่าแต่จะเสื่ยงต่อการติดเชื้อจากแบคทีเรียต่างๆได้ง่ายกว่า

วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

บทความวิทยาศาสตร์-1[น้ำทะเล]

น้ำทะเล
  1.เพราะเหตุน้ำทะเลถึงเค็ม
นั่นก็เป็นเพราะว่า ในการหมุนเวียนของวัฏจักรของน้ำ โดยน้ำทะเลจัดเป็นสารละลายอ่อนๆของสารหลายอย่าง ซึ่งเป็นทั้งสารละลายเกลือแร่ธาตุที่มีความหลากหลาย รวมกับสสารทางชีววิทยาที่เน่าเปื่อยผุพังของสิ่งมีชีวิตในทะเล เกลือในมหาสมุทรส่วนใหญ่นั้นมาจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆของการสลายสารที่ทำให้หินอัคนีเย็นตัวลง การกัดกร่อนทางกายภาพทั้งจากพื้นดิน ภูเขาสูง ละลายรวมตัวกันโดยฝน และไอน้ำในอากาศ ชะสารต่างๆเหล่านี้ให้ไหลลงสู่ทะเล และเกลือบางส่วนก็ละลายจากหิน และตะกอนจากพื้นดิน นอกจากนี้เกลืออีกส่วนก็อาจมาจากของแข็ง หรือแก๊สที่เกิดจากการแตกตัวของเปลือกโลก เช่น การเกิดภูเขาไฟระเบิด หรือจากชั้นบรรยากาศ เป็นต้น

  2.น้ำจืดก็ไหลลงไปรวมกับน้ำเค็มทำไมน้ำเค็มยังมีความเค็ม
น้ำจืดที่ไหลมาตามแม่น้ำนั้นก็คือน้ำที่มีความเข้มข้นของแร่ธาตุ และแร่ธาตุนั้นเมื่อรวมกันมากๆจะทัให้เกิดความเค็มได้ เช่น ในประเทศสหรัฐอเมริกามีการไหลของแม่น้ำและมีอัตราการพาตะกอนแร่ธาตุลงสู่ทะเล ปริมาณ500-700ล้านตันต่อปีซึ่งถ้าเทียบเป็นความเข้มข้นจะถือว่าตะกอนแร่ธาตุนั้นมีการเจือจางมาก
 เมื่อเริ่มแรกทะเลก็ยังมีความเค็มไม่มาก แต่เมื่อผ่านกาลเวลามายาวนานเป็นร้อยล้านปีทะเลจึงมีความเค็มมากยิ่งขึ้น โดยเฉลี่ยทั่วโลกแล้วในปีหนึ่งจะมีเกลือประมาณ 4 พันล้านตันละลายเข้าสู่ทะเล ซึ่งในส่วนนี้ก็จะมีเกลือบางส่วนที่ตกตะกอนลงสู่ก้นทะเล มากน้อยแตกต่างกันไปในแต่ละปี หรือพูดง่ายๆว่าทะเลในวันนี้มีความสมดุลของความเค็มจากเกลือที่เข้ามาและออกไป นั่นเองอาจเป็นหนึ่งคำตอบที่ว่า “ทำไมน้ำทะเลถึงไม่เค็มกว่านี้อีก”
  3.ตะกอนและแร่ธาตุต่างๆในน้ำทะเล

วันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ปัจจัยที่มีผลต่อสภาวะสมดุล

ปัจจัยที่มีผลต่อสภาวะสมดุล
                ที่สภาวะสมดุลสมบัติของสารต่างๆในระบบสามารถถูกรบกวนได้จากปัจจัยภายนอก อันได้แก่ ความเข้มข้น อุณหภูมิ และความดัน ทำให้ระบบเกิดการเสียสมดุล ดังนั้นระบบจึงต้องมีการปรับตัวเข้าสู่สภาวะสมดุลใหม่อีกครั้งหนึ่ง เพื่อลดผลของการรบกวนนั้น โดยผู้ที่ศึกษาในเรื่องของการรบกวนสมดุลและสรุปไว้เป็นหลักเกณฑ์ไว้คือ เลอชาเตอริเย
                ความเข้มข้นกับภาวะสมดุล
                ถ้าให้สมการเคมีทั่วไปเป็น             A + B              C + D
                หากมีการไปรบกวนสภาวะสมดุลของระบบ โดยการไปเปลี่ยนความเข้มข้นของสารตัวใดตัวหนึ่ง จะทำให้ระบบมีการปรับตัวเข้าสู่สภาวะสมดุลใหม่ได้ดังนี้
            .     ถ้าเพิ่มความเข้มข้นของสารตั้งต้น (A หรือ B)
                        ระบบจะปรับตัวเข้าสู่สภาวะสมดุลใหม่ เพื่อลดความเข้มข้นของสารที่เติมเข้าไป (Aหรือ Bโดยสารตั้งต้นจะทำปฏิกิริยากันมากขึ้น ส่งผลให้ปฏิกิริยาเกิดไปข้างหน้าเพิ่มมากขึ้น จึงได้สารผลิตภัณฑ์ C และ D เข้มข้นมากขึ้น (สมดุลเลื่อนไปทางขวา)
                .     ถ้าเพิ่มความเข้มข้นของสารผลิตภัณฑ์ (C หรือ D)
                        ระบบจะปรับตัวเข้าสู่สภาวะสมดุลใหม่ เพื่อลดความเข้มข้นของสารที่เติมเข้าไป (Cหรือ Dโดยสารผลิตภัณฑ์ คือ C และ D ทำปฏิกิริยากันมากขึ้น ส่งผลให้เกิดปฏิกิริยาย้อนกลับได้มากขึ้น ทำให้ได้สารตั้งต้น A และ B เข้มข้นมากขึ้น (สมดุลเลื่อนไปทางซ้าย)
                .     ถ้าลดความเข้มข้นของสารตั้งต้น (A หรือ B)
                        ระบบจะปรับตัวเข้าสู่สภาวะสมดุลใหม่  เพื่อเพิ่มความเข้มข้นของสารตั้งต้นให้มากขึ้น  โดยสารผลิตภัณฑ์ C และ D ทำปฏิกิริยากันเกิดปฏิกิริยาย้อนกลับได้มากขึ้น  (สมดุลเลื่อนไปทางซ้าย)
                .     ถ้าลดความเข้มข้นของสารผลิตภัณฑ์ (C หรือ D)
                        ระบบจะปรับตัวเข้าสู่สภาวะสมดุลใหม่  เพื่อเพิ่มความเข้มข้นของสารผลิตภัณฑ์ให้มากขึ้น  โดยสารตั้งต้น A และ B ทำปฏิกิริยากันเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้าเพิ่มมากขึ้น  (สมดุลเลื่อนไปทางขวา)

วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

Chemical Equilibrium

ปัจจัยที่มีผลต่อสภาวะสมดุล
                ที่สภาวะสมดุลสมบัติของสารต่างๆในระบบสามารถถูกรบกวนได้จากปัจจัยภายนอก อันได้แก่ ความเข้มข้น อุณหภูมิ และความดัน ทำให้ระบบเกิดการเสียสมดุล ดังนั้นระบบจึงต้องมีการปรับตัวเข้าสู่สภาวะสมดุลใหม่อีกครั้งหนึ่ง เพื่อลดผลของการรบกวนนั้น โดยผู้ที่ศึกษาในเรื่องของการรบกวนสมดุลและสรุปไว้เป็นหลักเกณฑ์ไว้คือ เลอชาเตอริเย
                ความเข้มข้นกับภาวะสมดุล
                ถ้าให้สมการเคมีทั่วไปเป็น             aA + bB              cC + dD

                หากมีการไปรบกวนสภาวะสมดุลของระบบ โดยการไปเปลี่ยนความเข้มข้นของสารตัวใดตัวหนึ่ง จะทำให้ระบบมีการปรับตัวเข้าสู่สภาวะสมดุลใหม่ได้ดังนี้
ถ้าเพิ่มความเข้มข้นของสารตั้งต้น (A หรือ B)
                        ระบบจะปรับตัวเข้าสู่สภาวะสมดุลใหม่ เพื่อลดความเข้มข้นของสารที่เติมเข้าไป (Aหรือ Bโดยสารตั้งต้นจะทำปฏิกิริยากันมากขึ้น ส่งผลให้ปฏิกิริยาเกิดไปข้างหน้าเพิ่มมากขึ้น จึงได้สารผลิตภัณฑ์ C และ D เข้มข้นมากขึ้น (สมดุลเลื่อนไปทางขวา)
ถ้าเพิ่มความเข้มข้นของสารผลิตภัณฑ์ (C หรือ D)
                        ระบบจะปรับตัวเข้าสู่สภาวะสมดุลใหม่ เพื่อลดความเข้มข้นของสารที่เติมเข้าไป (Cหรือ Dโดยสารผลิตภัณฑ์ คือ C และ D ทำปฏิกิริยากันมากขึ้น ส่งผลให้เกิดปฏิกิริยาย้อนกลับได้มากขึ้น ทำให้ได้สารตั้งต้น A และ B เข้มข้นมากขึ้น (สมดุลเลื่อนไปทางซ้าย)
ถ้าลดความเข้มข้นของสารตั้งต้น (A หรือ B)
                        ระบบจะปรับตัวเข้าสู่สภาวะสมดุลใหม่  เพื่อเพิ่มความเข้มข้นของสารตั้งต้นให้มากขึ้น  โดยสารผลิตภัณฑ์ C และ D ทำปฏิกิริยากันเกิดปฏิกิริยาย้อนกลับได้มากขึ้น  (สมดุลเลื่อนไปทางซ้าย)
ถ้าลดความเข้มข้นของสารผลิตภัณฑ์ (C หรือ D)
                        ระบบจะปรับตัวเข้าสู่สภาวะสมดุลใหม่  เพื่อเพิ่มความเข้มข้นของสารผลิตภัณฑ์ให้มากขึ้น  โดยสารตั้งต้น A และ B ทำปฏิกิริยากันเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้าเพิ่มมากขึ้น  (สมดุลเลื่อนไปทางขวา)

วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

Chemical Equilibrium and Dynamic Equilibrium

สมดุลเคมี (Chemical equilibrium)
 คือสภาวะที่ความเข้มข้นของสารตั้งต้นและสารผลิตภัณฑ์ไม่เปลี่ยนแปลงอีกแม้เวลาผ่านไป เราจะเรียกว่าปฏิกิริยาเคมีนั้นอยู่ในสมดุล (equilibrium) ทั้งนี้ การดำเนินไปของปฏิริยาไม่ได้สิ้นสุดลงแต่ระบบยังคงมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เรียกว่า สมดุลไดนามิก (dynamic equilibrium) 

สมดุลไดนามิก (Dynamic equilibrium)
สมดุลไดนามิก เป็นภาวะสมดุลที่เกี่ยวข้องกับอัตราการเกิดปฏิกิริยาของสาร “หมายถึงภาวะสมดุลที่ระบบมีอัตราการเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้าเท่ากับอัตราการเกิดปฏิกิริยาย้อนกลับ หรือมีอัตราการเปลี่ยนแปลงสุทธิเท่ากับศูนย์” เมื่อระบบอยู่ในภาวะสมดุลจะมีอัตราเร็วสุทธิของปฏิกิริยาเท่ากับศูนย์ ทำให้ความเข้มข้นของสารต่าง ๆ ในระบบคงที่ อย่างไรก็ตามที่ภาวะสมดุลไม่ได้หมายความว่าจะไม่มี