วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บทความวิทยาศาสตร์-3[luminal]

  ลูมินอล (Luminol: C8H7N3O2) เป็นสารเคมีที่สามารถตรวจพบร่องรอยของเลือดได้ ซึ่งหน่วยงาน Crime Scene Investigation หรือ CSI จะใช้บ่อยเพื่อหาร่องรอยของเลือดถึงแม้ว่าจะใช้ไม้ถูพื้นทำความสะอาดลบรอยเลือดแล้วก็ตาม แต่ถ้าไม่ใช้สารเคมีช่วยล้าง รอยเลือดนั้นจะติดอยู่นานเป็นปีโดยที่คนเราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า โดยในการสืบสวนสอบสวนคดีฆาตกรรม จะใช้สารเคมีนี้ พ่นเป็นฝอยบนพื้นที่ที่สงสัยว่าจะมีคราบเลือด จากนั้นจะใช้ไฟฉายแสงยูวีส่อง ก็จะเห็นคราบเลือดเรืองแสงสีน้ำเงินอมเขียว
 การตรวจร่องรอยเลือดจากการเรืองแสงของลูมินอล
  ลูมินอลเป็นสารชนิดผงที่มีคุณสมบัติเรืองแสง (Chemiluminescence) ได้เมื่อผสมกับตัวออกซิไดซ์ที่เหมาะสม ในทางนิติวิทยาศาสตร์ได้มีการใช้ลูมินอลเพื่อหาร่องรอยเลือดในสถานที่เกิดเหตุ โดยสารละลายลูมินอลจะทำปฏิกิริยากับเลือดทำให้เกิดการเรืองแสงขึ้น สารละลายลูมินอลเตรียมจากการละลายผงลูมินอลกับสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ ทำให้ได้ลูมินอลในรูปไดแอนไออน (dianion)  ซึ่งมีความเสถียรสูง 
 จากนั้นจึงเติมสารละลายไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ทำให้ได้ก๊าซออกซิเจน ซึ่งจะทำปฏิกิริยาอย่างรวดเร็วกับลูมินอลในรูปไดแอนไอออน เกิดเป็นลูมินอลที่มีโครงสร้างไม่เสถียร (intermediate luminal) และมีพลังงานสูง ทำให้ต้องมีการปล่อยพลังงานออกมาในรูปแสงสีฟ้าเพื่อทำให้เกิดโครงสร้างลูมินอลที่มีความเสถียรที่สุด
สารเคมีที่ใช้
- ลูมินอล Luminol
- 10% โซเดียมไฮดรอกไซด์ NaOH
- 3% สารละลายไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ในน้ำกลั่น H2O2
- 10% สารละลายเลือดในน้ำกลั่น (Blood)
- เอธานอล (Ethanol)
- 10% โซเดียมไฮดรอกไซด์ : โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตอิ่มตัว
สารลูมินอลจะทำปฏิกิริยากับไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ เป็นกระบวนการที่พลังงานของสารเริ่มต้นมากกว่าสารผลิตภัณฑ์ ทำให้โมเลกุลคายพลังงานที่เหลือออกมาในรูปแบบของโฟตอนแสง โดยเหล็กที่อยู่ในฮีโมโกลบินในเลือดจะเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ทำให้การเรืองแสงเด่นชัดขึ้น เรียกกระบวนการนี้ว่า “Chemiluminescence”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น