วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ทฤษฎีกรด-เบส [Acid-Base Theory]

Acid-Base Theory
Arrhenius Concept
กรด คือ สารประกอบที่มี H และเมื่อละลายน้ำจะแตกตัวให้ H + หรือ H 3O +
เบส คือ สารประกอบที่มี OH และเมื่อละลายน้ำจะแตกตัวให้ OH -
ปัญหาที่สำคัญของทฤษฎีกรด-เบสของอาร์รีเนียส คือ ไม่สามารถระบุความเป็นกรด-เบสของสารที่ไม่ละลายน้ำได้ และไม่สามารถระบุความเป็นกรดที่ไม่มีไฮโดรเจนได้ เช่น AlCl3 หรือเบสที่ไม่มีไฮดรอกไซด์ไอออน เช่น NH3 หรือ N(CH3)3 ได้ จึงมีการนิยามขึ้นใหม่โดยนักเคมีรุ่นหลัง
Bronsted-Lowry Concept
กรด คือ สารที่สามารถให้โปรตอน ( proton donor)แก่สารอื่น
เบส คือ สารที่สามารถรับโปรตอน ( proton acceptor)จากสารอื่น
ปฏิกิริยาระหว่างกรดกับเบสจึงเป็นการถ่ายเทโปรตอนจากกรดไปยังเบสเช่น แอมโมเนียละลายในน้ำ
NH 3(aq) + H 2O (1) คำอธิบาย: https://blogger.googleusercontent.com/img/proxy/AVvXsEhGaazVsZiO_j0xCfuC8o0r9xT8E9wawIi16g9-V40PxHpsDifk3nNTr6ZpM6nWL8nE9Fd6uBAHYWQX1Ff5yJf6f_Mb7aaB06wkXhoC2SV28GRGTWPeXKAP1nwRGhVD-uodG729QVh0LqbbgZTg-H-dFc4_d7JZuvYV8YV6KWiY= NH 4 + (aq) + OH - (aq)
base 2 ........ acid 1 ........ acid 2 ........ base 1
ในปฏิกิริยาไปข้างหน้า NH 3 จะเป็นฝ่ายรับโปรตอนจาก H 2O ดังนั้น NH 3 จึงเป็นเบสและ H 2O เป็นกรด แต่ในปฏิกิริยาย้อนกลับ NH 4 + จะเป็นฝ่ายให้โปรตอนแก่ OH - ดังนั้น NH 4 + จึงเป็นกรดและ OH - เป็นเบส อาจสรุปได้ว่าทิศทางของปฏิกิริยาจะขึ้นอยู่กับความแรงของเบส
สารแอมโฟเทอริก สารประกอบที่ทำหน้าที่ได้ทั้งกรดเบรินสเตดและเบสเบรินสเตด โดยน้ำเป็นตัวอย่างของสารแอมโฟเทอริก ดังสมการ: AH + B A + BH+
HNO3 + H2O NO3 + H3O+(น้ำทำหน้าที่เป็นเบส)
H2O + NH=C(NH2)2  OH + H2N=C(NH2)2+(น้ำทำหน้าที่เป็นกรด)
ความแรงสัมพัทธ์ของกรดเบรินสเตดความแรงของกรดเบรินสเตดสามารถเปรียบเทียบโดยใช้ ค่าคงที่การแตกตัวของกรด (Acid Dissociation Constant: Ka) โดยที่:
HA A + H+



อย่างไรก็ตาม ค่าคงที่การแตกตัวของกรดเป็นค่าคงที่ที่เป็นค่าเฉพาะ ณ อุณหภูมิหนึ่งๆ และมีค่าเปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิ รวมถึงขึ้นอยู่กับชนิดองตัวทำละลายด้วย ดังตารางเป็นตัวอย่างของค่า pKa ของกรดบางชนิดในตัวทำละลายชนิดต่างๆ ที่อุณหภูมิ 25
Lewis Concept
กรด คือ สารที่สามารถรับอิเลคตรอนคู่โดดเดี่ยว ( electron pair acceptor) จากสารอื่น
เบส คือ สารที่สามารถให้อิเลคตรอนคู่โดดเดี่ยว ( electron pair donor)แกสารอื่น
ทฤษฎีนี้ใช้อธิบาย กรด เบส ตาม concept ของ Arrhenius และ Bronsted-Lowry ได้ และมีข้อได้เปรียบคือสามารถอธิบาย กรด เบส ในกรณีที่เกิดปฏิกิริยาระหว่างกัน และได้สารประกอบที่มีพันธะโควาเลนซ์ เช่น
OH - (aq) + CO 2 (aq) คำอธิบาย: https://blogger.googleusercontent.com/img/proxy/AVvXsEhPCamkq6CBBBQB6EdO4ZOTUJiMsv-CfD9xfiorQR530hC-NpmhTfmtG0jOAaNhLvh2OJlPOd5M-uG1myyQn8_iXgto0exCz6LtI2jb0p8flnyGzyjGaz5HVltP58aMhttgmCVd32Atn0ktAl0cT9As7svHNn7ik8hepal8M-Nk=HCO 3 - (aq)


BF 3 + NH 3คำอธิบาย: https://blogger.googleusercontent.com/img/proxy/AVvXsEhPCamkq6CBBBQB6EdO4ZOTUJiMsv-CfD9xfiorQR530hC-NpmhTfmtG0jOAaNhLvh2OJlPOd5M-uG1myyQn8_iXgto0exCz6LtI2jb0p8flnyGzyjGaz5HVltP58aMhttgmCVd32Atn0ktAl0cT9As7svHNn7ik8hepal8M-Nk=BF 3-NH 3
ตัวอย่างปฏิกิริยากรด-เบสของลิวอิส
BF3 + F → BF4
BF3 + OMe2 → BF3O
Me2I2 + I → I3

SiF4 + 2 F → SiF62−

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น