วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2558

Korea Trip 4

Korea Trip Part 4
  พาร์ทสุดท้ายนี้นะครับ ผมจะพูดถึงที่เที่ยวล้วนๆเลยนะครับพักเรื่องวิชาการบ้างไรบ้างง
ที่แรก สวนสนุกริมทะเล (Wolmi theme park)
  เป็นสวนสนุกที่อยู่ติดกับริมฝั่งทะเล โดยจะมีเครื่องเล่น ร้านค้า ร้านอาหารอยู่มากมาย มีการแสดงน้ำพุทั้งกลางวันและกลางคืน นอกจากนั้นยังมีบรรยากาศที่สวยงาม และมีลมที่พัดผ่านไปผ่านมาอญุ่ตลอดเวลา



ที่ต่อมาสวนสนุกล้อตเต้ (LOTTE WORLD)
  เป็นสวนสนุกที่กินอาณาบริเวณเป็นบริเวณกว้างมากพอๆกับดรีมเวิร์ดบ้านเราแต่ได้แบ่งเป็น 2 ส่วนคือส่วนนอกและในอาคาร ส่วนนอกอาคารจะมีเครื่องเล่นที่พบได้ตามสวนสนุกทั่วไปแต่จะมีความหวาดเสียวมากกว่า และที่เป็นจุดเด่นคือมีปราสาทจากเรื่องซินเดอเรลล่าอยู่ตรงกลาง ส่วนด้านในอาคารจะเป็นเครื่องเล่นของเด็กๆและพวกที่ต้องใช้เทคโนโลยีต่างๆมาเกี่ยวข้องเช่น พวกเครื่องเล่นที่เป็น3D นอกจานั้นภายในอาคารยังมีลานไอซ์สเก็ตให้บริการอีกด้วย



MeangDong street
  เป็นย่านขายของขายสินค้าสำหรับวัยรุ่นและของแบรนด์ดังต่างๆส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าพวกเครื่องสำอางและเสื้อผ้า



HongDae Street
เป็นถนนคนเดินที่ยาวมากตามร้านของทางจะขายเป็นสินค้าแบรนด์เนมบ้าง ขายเสื้อผ้าบ้างขายอาหารบ้าง ขายของอินดี้บ้าง และที่สำคัณคือย่านฮงแดเป็นแหล่งรวมของเหล่าวัยรุ่นของเกาหลี เปรียบเทียบก็น่าจะประมาณสยามของบ้านเรา



และที่สุดท้ายคือ จตุรัส กวาง ฮา มุน
  ที่นี่เป็นแลนด์มาร์คอีกที่หนึ่งของเกาหลี เนื่องจากเป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์ของนายพล อีซุน ชิน (Yi sun-shin) และอนุสาวรีย์ของกษัตริย์เซจงมหาราช ผู้ประดิษฐ์ตัวอักษรของเกาหลีที่ใช้กันในปัจจุบัน เรียกว่า"ฮันกึล"


 ผมได้เรียนรู้หลายอย่างไม่ว่าจะเป็นด้านขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม และได้ความรู้ด้านการจัดระเบียบสังคม การเกณฑ์ทหาร การศึกษา การปกครอง ของคนเกาหลีจากพี่ที่เป็นไกด์ ประเทศเกาหลีใต้เป็นประเทศที่ดีและสวยงาม ตลอดทั้งปี ถ้าวันหยุดยาวนี้ยังไม่มีโปรแกรมไปไหนผมว่าประเกาหลีใต้เหมาะกับการไปเที่ยวในฤดูหนาวมากเลยครับ ในการไปเที่ยวเกาหลีครั้งนี่ผมให้คะแนน9/10เลยครับเพราะผมรู้สึกชอบประเทศนี้มากเลยครับ



วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2558

Korea Trip 3

Korea trip part 3
  มาต่อกันในพาร์ทที่ 3 กันนะครับ เมื่อพูดถึงประเทศเกาหลีใต้สิ่งที่คนส่วนใหญ่นึกถึงก็จะเป็น แนวเพลงที่เรียกว่า Kpop และเหล่าไอดอลศิลปินต่างๆ ตอนที่ผมไปประเทศเกาหลีใต้ผมก็ได้ไปดูการแสดงเพลง kpop มาด้วยนะครับ แต่เสียดายที่ไม่ได้ดูแบบที่เป็นคนจริงแสดง 5555 แต่ผมได้ดูผ่านระบบโฮโลแกรมหรือว่าตามที่ดาราคนหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า


เอ่ออออออออออ........ ตามนั้นแหละครับ อ่าาา วันนี้ผมจะมาพูดถึงเรื่องเทคนิกของโฮโลแกรมนะครับ
หลักการของ Hologram
โฮโลแกรม เป็นภาพที่มีลักษณะ 3 มิติ ซึ่งแตกต่างจากภาพ 2 มิติ เช่น ภาพถ่าย ภาพวาด จอคอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ เป็นต้น ภาพเหล่านี้จะเป็นภาพ 2 มิติ เมื่อแสงจากแหล่งกำเนิดแสง ไปกระทบผิวของภาพถ่าย, ภาพวาด ก็จะสะท้อนกลับมายังที่ตา ทำให้มองเห็นภาพเป็น 2 มิติ
แต่ภาพโฮโลแกรมจะใช้หลักการสร้างภาพให้มีการแทรกสอดของแสงที่มากระทบรูปภาพ โดยการฉายแสงเลเซอร์จากแหล่งเดียวกัน แยกเป็น 2 ลำแสง ลำแสงหนึ่งเป็นลำแสงอ้างอิงเล็งตรงไปที่แผ่นฟิล์ม อีกลำแสงหนึ่งเล็งไปที่วัตถุและสะท้อนไปยังฟิล์ม แสงจากทั้งสองแหล่งจะถูกบันทึกไว้บนฟิล์มในรูปแบบของการแทรกสอด (Interference Pattern) ซึ่งมองไม่คล้ายกับรูปของวัตถุต้นแบบ ก่อให้เกิดภาพเสมือน (Virtual image) ขึ้นมาตามมุมของแสงที่มาตกกระทบ ทำให้ตาของเรารับแสงอีกด้านหนึ่งของแผ่น Hologram เกิดเห็นภาพ 3 มิติขึ้น
ฮอโลแกรมถูกสร้างขึ้นด้วยกระบวนการที่เรียกว่า ฮอโลกราฟี (Holography) โดยฮอโลกราฟีเป็นเทคนิคที่ช่วยให้แสงกระจายจากวัตถุที่จะบันทึกและได้ถูกสร้างขึ้นใหม่ เพื่อให้ปรากฏเป็นวัตถุอยู่ในตำแหน่งเดิมเมื่อเทียบกับการบันทึก การเปลี่ยนแปลงรูปแบบตำแหน่งและทิศทางของระบบการมองเห็นเป็นไปอย่างถูกต้องเหมือนกับว่าวัตถุก็ยังคงเป็นปัจจุบันจึงทำให้ภาพที่บันทึกปรากฏเป็นสามมิติ ฮอโลแกรม 3 มิติ เป็นเทคโนโลยีรูปแบบหนึ่งที่ใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารระยะไกลระหว่างบุคคลต้นทางและปลายทางที่อยู่ต่างสถานที่กัน สามารถโต้ตอบแบบตัวต่อตัว
การสร้างโฮโลแกรมแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้
(1) การบันทึกภาพ (recording of image) เป็นการบันทึกแถบการสอดแทรกเชิงซ้อน (Complex interference patterns) ซึ่งเกิดจากที่แต่ละแสงเลเซอร์ 2 ลำแสงซ้อนทับกันอยู่ (Superposition) แถบการสอดแทรกเชิงซ้อนนี้จะถูกบันทึกไว้บนฟิล์มถ่ายรูป (Photographic film)
(2) การสร้างภาพ (reconstruction of image) เป็นการสร้างภาพ 3 มิติ ขึ้นจากแผ่น
ครับ.. ผมอยากจะบอกว่าโฮโลแกรมที่ผมได้ดูนั้นล้ำมากจริงๆนะครับ คอนเสิร์ตที่ผมได้ดูนั้นเป็นของวง 2NE1 BigBang และ PSY เจ้าของเพลง"กังนัมสไตล์" ซึ่งเป็นโฮโลแกรมที่ล้ำมากๆเลยครับดูแล้วเหมือนเราได้ไปดูคอนเสิร์ตของศิลปินจริงๆ แต่เสียดายที่พนักงานจะไม่ให้ถ่ายรุปด้านในที่ทำการแสดงนะครับ ส่วนรูปที่เห็นอยู่นี้เอามาจากกูเกิ้ลนะครับ 55555

การแสดงโฮโลแกรม K Live ที่ผมได้ดูนั้นอยู่ในย่าน Dong Dae Mun ที่ผมได้เคยในดูรูปในบล้อก "Korae trip part 1" นะครับ


วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Korea Trip 2

Korea trip part 2
  ในสัปดาห์ที่แล้วผมได้พูดถึง Biological clock ไปแล้ว วิทยาศาสตร์รายสัปดาห์ในสัปดาห์นี้ผมจะมาอธิบายถึงกลศาสตร์ในการบินครับ
  ในเรื่องของการเดินทางที่รวดเร็ว ผมจะไม่พูดถึงเรื่องนี้ก็ไม่ได้นะครับ นั่นคือเรื่องของกลศาสตร์การบิน กลศาสตร์การบินคือเรื่องเกี่ยวกับการศึกษาในเรื่องแรงที่มีผลต่อการบินหรือแรงที่มีผลต่อเครื่องบินโดยแรงที่สำคัญต่อการบินนั่นก็คือแรงยกของปีกเครื่องบิน นอกจากแรงยกที่ปีกก้ยังมีแรงอื่นๆอีก
  แรงที่กระทำบนเครื่องบินโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 4 ส่วนคือ แรงฉุด (Drag) แรงขับ (Thrust) น้ำหนัก
(Weight) และแรงยก (Lift) แรงฉุดคือแรงที่ดึงเครื่องบินไปข้างหลังทำให้ความเร็วของเครื่องบินลดลง แรงขับคือแรงดึง
หรือผลักเครื่องบินไปข้างหน้า น้ำหนักคือผลของแรงโน้มถ่วงของโลกที่กระทำต่อเครื่องบิน และแรงยกคือแรงที่ยก
เครื่องบินให้ลอยอยู่ในอากาศได้ เมื่อเครื่องบินบินอยู่ที่ระดับความสูงคงที่ค่าหนึ่งด้วยความเร็วคงตัว แรงยกจะเท่ากับ
น้ำหนัก และแรงขับจะเท่ากับแรงฉุด

  แรงยกเกิดจากองค์ประกอบความเฉือนและความดันที่กระทำบนเครื่องบินในทิศตั้งฉากกับทิศทางการบิน เป็น แรงที่ทำให้เครื่องบินลอยอยู่ในอากาศ แรงยกเกือบทั้งหมดเกิดขึ้นที่ปีกของเครื่องบิน สิ่งที่ต้องเน้นย้ำคือการอธิบายที่ นิยมใช้กันทั่ว ๆ ไป จะเกี่ยวข้องกับรูปร่างของปีกซึ่งนำไปสู่ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ถึงแม้ว่ารูปร่างของปีกเครื่องบิน จะสำคัญมาก แต่ถ้ารูปร่างเป็นหนทางเดียวที่จะทำให้เกิดแรงยกบนปีกเครื่องบินแล้ว เครื่องบินจะไม่สามารถบินหงาย ท้องได้เลย และในทำนองเดียวกันเครื่องบินที่พับจากกระดาษจะไม่สามารถร่อนขึ้นสูงได้ด้วยปีกแบน ๆ สิ่งที่สำคัญที่สุด คือเครื่องบินบินได้โดยการผลักดันหรือเปลี่ยนทิศทางของอากาศให้มีทิศลงเพื่อสร้างแรงยกตามสมการโมเมนตัมเชิงเส้น หรือกฎข้อที่สองของนิวตัน การสร้างแรงยกทำโดยการเบี่ยงเบนอากาศให้มีทิศลง ปีกต้องสามารถเปลี่ยนความเร็วของอากาศเพื่อให้เกิด ความเร่ง (หรือเปลี่ยนโมเมนตัม) ซึ่งเป็นสาเหตุให้ความดันด้านบนของปีกต่ำกว่าความดันใต้ปีกทำให้ยกปีกขึ้นได้ ข้อ สำคัญที่ต้องจำ คือ ปีกต้องเบี่ยงเบนอากาศเพื่อเป็นสาเหตุให้เปลี่ยนแปลงความดัน สิ่งที่ทำให้เกิดการเบี่ยงเบนของอากาศได้คือการทำให้ปีกเครื่องบินท ามุมกับทิศทางการไหลของอากาศซึ่ง เรียกว่ามุมปะทะ (Attack angle) สิ่งนี้จะทำให้เกิดแรงยก แต่จากข้อมูลการทดลองทางวิศวกรรมพบว่ามุมปะทะไม่ควร เกิน 15 องศา เพราะถ้ามากกว่านั้นจะทำให้เครื่องบินเสียการทรงตัว ดังรูป

ต่อไปจะแนะนำที่เที่ยวในเกาหลีนะครับ
ที่ผมจะแนะนำคือโซลทาวเวอร์นะครับ เรียกว่าเป็นแลนด์มากที่สำคัญของกรุงโซลเลยก็ว่าได้นะครับ


วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

The return & korea trip part 1

    หลังจากการที่ว่างเว้นในการเขียนบล็อกมาเป็นเวลานาน น๊าาานนน นาน นะครับ บล็อกผมก็ได้กลับมาในชื่อและรูปแบบใหม่ นั่นก็คือ Weekly Science (วิทยาศาสตร์รายสัปดาห์)จะมีทั้งเนื้อหาสาระ เรื่องราวกิจกรรมของเจ้าของกระทู้ และอื่นๆ(ที่ตอนนี้ยังคิดไม่ออก555)

    ตอนที่ผมได้หายไปนั้นก็เป็นช่วงปิดเทอมผมก็ได้ไปเที่ยวพักผ่อนในที่ต่างๆทั้งในประเทศและต่างประเทศ ประเทศที่ผมได้ไปท่องเที่ยวนั้นคือ กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ส่วนในประเทศนั้นผมได้ไปเที่ยวที่ เขื่อนรัชชประภา(เขื่อนเชี่ยวหลาน)จังหวัด สุราษฎร์ธานี

KOREA TRRIP PART 1

ในโพสแรกนี่จะพูดถึงทริปที่ผมได้ไปเกาหลีมานะครับ โดยที่เวลาของประเทศเกาหลีนั้นเร็วกว่าประเทศไทย 2 ชม. โดยสภาพอากาศที่เกาหลีในช่วงที่ผมไปนั้นคล้ายๆกับประเทศไทย แต่จะเย็นกว่าเล็กน้อย เมื่อพูดถึงการเดินทางด้วยเครื่องบินอย่างแรกที่คนมักจะนึกถึงคือ อาการ jet lag วันนี้ผมก็จะมาอธิบายเรื่องนี้แหละครับ

Jet lag หรือในทางการแพทย์เรียกว่า Desynchronosis หรือ Flight fatigue เป็นกลุ่มอาการทางด้านสรีรระวิทยา ซึ่งเกิดจากการแปรปรวนต่อระบบนาฬิกาชีวภาพของร่างกาย เป็นผลมาจากการเดินทางระยะทางไกลและเป็นเวลาอันรวดเร็ว(โดยเฉพาะเครื่องบินไอพ่น)

นาฬิกาชีวภาพ(Circadian Rhythm หรือ Human Biological Clock) เป็นระบบที่สำคัญของร่างกายที่คอยควบคุมการหลั่งฮอร์โมน เพิ่มความตื่นตัว ประสิทธิภาพในการทำงานของร่างกาพ และยังช่วยควบคุมวงรอยการหลับและตื่น และควบคุมระดับอุณหภูมิของคนเราอีกด้วย แต่ถ้าร่างกายขาดความสมดุลสม่ำเสมอของตัวควบคุมนาฬิกาชีวิต ก็จะเกิดการแปรปรวน ซึ่งระบบนาฬิกาชีวภาพเริ่มจากแสงสว่างและความมืดเป็นตัวควบคุมนาฬิกาชีวภาพที่สำคัญ โดยสมองส่วย Hypothalamus นะมีหน้าที่คล้ายศูนย์ควบคุมการทำงานต่างๆของร่างกายโดยมีแสงสว่างเป็นตัวช่วยควบคุม และเป็นตัวกระตุ้นผ่านจอประสาทตาแล้วส่งสัญญาณไปที่Hypothalamus เพื่ิให้ร่างกายรู้ถึงช่วงเวลาอันเป็นตัวกำหนดสมดุลการทำงานของร่างกาย

นี่เป็นเกร็ดความรู้ทางวิทยาศาสตร์เล็กๆน้อยจากการไปเที่ยวเกาหลีครั้งนี้นะครับ
ต่อมาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวในเกาหลีนะครับ


ในรูปคือบริเวณที่จัดนิทรรศการ ในใจกลางกรุงโซลอยู่ในย่าน Dong Dae Mun ซึ่งเป็นย่านรวมของศูนย์การค้ามากมาย




วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ทฤษฎีกรด-เบส [Acid-Base Theory]

Acid-Base Theory
Arrhenius Concept
กรด คือ สารประกอบที่มี H และเมื่อละลายน้ำจะแตกตัวให้ H + หรือ H 3O +
เบส คือ สารประกอบที่มี OH และเมื่อละลายน้ำจะแตกตัวให้ OH -
ปัญหาที่สำคัญของทฤษฎีกรด-เบสของอาร์รีเนียส คือ ไม่สามารถระบุความเป็นกรด-เบสของสารที่ไม่ละลายน้ำได้ และไม่สามารถระบุความเป็นกรดที่ไม่มีไฮโดรเจนได้ เช่น AlCl3 หรือเบสที่ไม่มีไฮดรอกไซด์ไอออน เช่น NH3 หรือ N(CH3)3 ได้ จึงมีการนิยามขึ้นใหม่โดยนักเคมีรุ่นหลัง
Bronsted-Lowry Concept
กรด คือ สารที่สามารถให้โปรตอน ( proton donor)แก่สารอื่น
เบส คือ สารที่สามารถรับโปรตอน ( proton acceptor)จากสารอื่น
ปฏิกิริยาระหว่างกรดกับเบสจึงเป็นการถ่ายเทโปรตอนจากกรดไปยังเบสเช่น แอมโมเนียละลายในน้ำ
NH 3(aq) + H 2O (1) คำอธิบาย: https://blogger.googleusercontent.com/img/proxy/AVvXsEhGaazVsZiO_j0xCfuC8o0r9xT8E9wawIi16g9-V40PxHpsDifk3nNTr6ZpM6nWL8nE9Fd6uBAHYWQX1Ff5yJf6f_Mb7aaB06wkXhoC2SV28GRGTWPeXKAP1nwRGhVD-uodG729QVh0LqbbgZTg-H-dFc4_d7JZuvYV8YV6KWiY= NH 4 + (aq) + OH - (aq)
base 2 ........ acid 1 ........ acid 2 ........ base 1
ในปฏิกิริยาไปข้างหน้า NH 3 จะเป็นฝ่ายรับโปรตอนจาก H 2O ดังนั้น NH 3 จึงเป็นเบสและ H 2O เป็นกรด แต่ในปฏิกิริยาย้อนกลับ NH 4 + จะเป็นฝ่ายให้โปรตอนแก่ OH - ดังนั้น NH 4 + จึงเป็นกรดและ OH - เป็นเบส อาจสรุปได้ว่าทิศทางของปฏิกิริยาจะขึ้นอยู่กับความแรงของเบส
สารแอมโฟเทอริก สารประกอบที่ทำหน้าที่ได้ทั้งกรดเบรินสเตดและเบสเบรินสเตด โดยน้ำเป็นตัวอย่างของสารแอมโฟเทอริก ดังสมการ: AH + B A + BH+
HNO3 + H2O NO3 + H3O+(น้ำทำหน้าที่เป็นเบส)
H2O + NH=C(NH2)2  OH + H2N=C(NH2)2+(น้ำทำหน้าที่เป็นกรด)
ความแรงสัมพัทธ์ของกรดเบรินสเตดความแรงของกรดเบรินสเตดสามารถเปรียบเทียบโดยใช้ ค่าคงที่การแตกตัวของกรด (Acid Dissociation Constant: Ka) โดยที่:
HA A + H+



อย่างไรก็ตาม ค่าคงที่การแตกตัวของกรดเป็นค่าคงที่ที่เป็นค่าเฉพาะ ณ อุณหภูมิหนึ่งๆ และมีค่าเปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิ รวมถึงขึ้นอยู่กับชนิดองตัวทำละลายด้วย ดังตารางเป็นตัวอย่างของค่า pKa ของกรดบางชนิดในตัวทำละลายชนิดต่างๆ ที่อุณหภูมิ 25
Lewis Concept
กรด คือ สารที่สามารถรับอิเลคตรอนคู่โดดเดี่ยว ( electron pair acceptor) จากสารอื่น
เบส คือ สารที่สามารถให้อิเลคตรอนคู่โดดเดี่ยว ( electron pair donor)แกสารอื่น
ทฤษฎีนี้ใช้อธิบาย กรด เบส ตาม concept ของ Arrhenius และ Bronsted-Lowry ได้ และมีข้อได้เปรียบคือสามารถอธิบาย กรด เบส ในกรณีที่เกิดปฏิกิริยาระหว่างกัน และได้สารประกอบที่มีพันธะโควาเลนซ์ เช่น
OH - (aq) + CO 2 (aq) คำอธิบาย: https://blogger.googleusercontent.com/img/proxy/AVvXsEhPCamkq6CBBBQB6EdO4ZOTUJiMsv-CfD9xfiorQR530hC-NpmhTfmtG0jOAaNhLvh2OJlPOd5M-uG1myyQn8_iXgto0exCz6LtI2jb0p8flnyGzyjGaz5HVltP58aMhttgmCVd32Atn0ktAl0cT9As7svHNn7ik8hepal8M-Nk=HCO 3 - (aq)


BF 3 + NH 3คำอธิบาย: https://blogger.googleusercontent.com/img/proxy/AVvXsEhPCamkq6CBBBQB6EdO4ZOTUJiMsv-CfD9xfiorQR530hC-NpmhTfmtG0jOAaNhLvh2OJlPOd5M-uG1myyQn8_iXgto0exCz6LtI2jb0p8flnyGzyjGaz5HVltP58aMhttgmCVd32Atn0ktAl0cT9As7svHNn7ik8hepal8M-Nk=BF 3-NH 3
ตัวอย่างปฏิกิริยากรด-เบสของลิวอิส
BF3 + F → BF4
BF3 + OMe2 → BF3O
Me2I2 + I → I3

SiF4 + 2 F → SiF62−

วันเสาร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บทความวิทยาศาสตร์-4[Gallium]

แกลเลียม (Gallium) คือธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม เท่ากับ 31 และมีสัญลักษณ์คือ Ga แกลเลียมอยู่ในตารางธาตุหมู่ 31 ซึ่งในธรรมชาติเราจะพบในแร่บอไซต์ (bauxite) และสังกะสี (zinc ores) สารประกอบแกลเลียม อาร์ซิไนด์ ใช้ทำสารกึ่งตัวนำในหลอดไดโอดส์ หรือที่เรามักเรียกกันว่า หลอดแอล อี ดี (LEDs) นั่นเอง


ธาตุแกลเลียม ถูกค้นพบโดย P.E. Lecoq de Boisbaudran นักเคมีชาวฝรั่งเศส ในวันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ.1875 โดยเขาได้ศึกษาเส้นสเปกตรัมของ Pyrenean zinc blend ที่ทำให้เข้มข้นแล้ว จนพบเส้นสเปกตรัมอยู่ตำแหน่งตรงกับธาตุที่ขาดหายไปคือธาตุ "eka-alumina" ซึ่งเป็นธาตุอยู่ระหว่าง Al และ In ในตารางธาตุ จากการเตรียมโลหะอิสระได้จากการนำสารของธาตุนี้ในสารละลายเบสมาแยกสลายด้วยไฟฟ้า (electrolysis) และได้ศึกษาสมบัติบางประการของธาตุนี้จนสำเร็จ และได้ตั้งชื่อธาตุนี้ว่า แกลเลียม (Gallium) มาจากภาษาลาตินว่า แกลเลีย (Gallia) ซึ่งเขาได้กล่าวไว้ในบทความของวารสาร the Annales de Chimie ว่าเขาได้เริ่มต้นการค้นหาธาตุนี้มาแล้วกว่า 15 ปี แต่เนื่องจากมีปริมาณวัตถุดิบไม่เพียงพอ จนกระทั่งเดือนกุมภาพันธ์ ปี 1874 จึงได้รับแร่จำนวน 52 กิโลกรัมจากเหมือง Pierrefitte และสกัดตัวอย่างออกมาได้จำนวนเล็กน้อย (ประมาณ 1/100 มิลลกรัม) ในคืนวันที่ 27 สิงหาคม 1875 จากเครื่องวิเคราะห์แบบสเปกโตรสโคปี แสดงถึงแถบสีม่วงที่ความยาวคลื่น 417.0 แสดงถึงธาตุใหม่ 




คนมักเข้าใจผิดคิดว่าแกลเลี่ยมเป็นปรอท นั่น

อาจเพราะลักษณะที่มีสีเงินอ่อนนุ่ม เป็นของเหลวเหมือนปรอทนั่นเอง และที่สำคัญมีจุดหลอมเหลวต่ำอีกด้วย ประมาณ 30 องศาเซลเซียส ฉะนั้นประเทศเขตร้อนอย่างเมืองไทยบ้านเรา โดยเฉพาะในวันที่อุณหภูมิสูงกว่า 30 องศาเซลเซียส สงสัยแกลเลียมมีโอกาสเป็นของเหลวได้แน่ๆ และที่สำคัญยังสามารถเป็นของเหลวบนฝ่ามือเราได้อีกด้วยเพราะอุณหภูมิร่างกายของมนุษย์นั่นมากกว่า 30 องศาเซลเซียส แต่ถ้าหากอุณหภูมิต่ำกว่า 30 องศาเซลเซียสเจ้าแกลเลียมจะเปลี่ยนเป็นของแข็งขึ้นมาทันที

วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บทความวิทยาศาสตร์-3[luminal]

  ลูมินอล (Luminol: C8H7N3O2) เป็นสารเคมีที่สามารถตรวจพบร่องรอยของเลือดได้ ซึ่งหน่วยงาน Crime Scene Investigation หรือ CSI จะใช้บ่อยเพื่อหาร่องรอยของเลือดถึงแม้ว่าจะใช้ไม้ถูพื้นทำความสะอาดลบรอยเลือดแล้วก็ตาม แต่ถ้าไม่ใช้สารเคมีช่วยล้าง รอยเลือดนั้นจะติดอยู่นานเป็นปีโดยที่คนเราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า โดยในการสืบสวนสอบสวนคดีฆาตกรรม จะใช้สารเคมีนี้ พ่นเป็นฝอยบนพื้นที่ที่สงสัยว่าจะมีคราบเลือด จากนั้นจะใช้ไฟฉายแสงยูวีส่อง ก็จะเห็นคราบเลือดเรืองแสงสีน้ำเงินอมเขียว
 การตรวจร่องรอยเลือดจากการเรืองแสงของลูมินอล
  ลูมินอลเป็นสารชนิดผงที่มีคุณสมบัติเรืองแสง (Chemiluminescence) ได้เมื่อผสมกับตัวออกซิไดซ์ที่เหมาะสม ในทางนิติวิทยาศาสตร์ได้มีการใช้ลูมินอลเพื่อหาร่องรอยเลือดในสถานที่เกิดเหตุ โดยสารละลายลูมินอลจะทำปฏิกิริยากับเลือดทำให้เกิดการเรืองแสงขึ้น สารละลายลูมินอลเตรียมจากการละลายผงลูมินอลกับสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ ทำให้ได้ลูมินอลในรูปไดแอนไออน (dianion)  ซึ่งมีความเสถียรสูง 
 จากนั้นจึงเติมสารละลายไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ทำให้ได้ก๊าซออกซิเจน ซึ่งจะทำปฏิกิริยาอย่างรวดเร็วกับลูมินอลในรูปไดแอนไอออน เกิดเป็นลูมินอลที่มีโครงสร้างไม่เสถียร (intermediate luminal) และมีพลังงานสูง ทำให้ต้องมีการปล่อยพลังงานออกมาในรูปแสงสีฟ้าเพื่อทำให้เกิดโครงสร้างลูมินอลที่มีความเสถียรที่สุด
สารเคมีที่ใช้
- ลูมินอล Luminol
- 10% โซเดียมไฮดรอกไซด์ NaOH
- 3% สารละลายไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ในน้ำกลั่น H2O2
- 10% สารละลายเลือดในน้ำกลั่น (Blood)
- เอธานอล (Ethanol)
- 10% โซเดียมไฮดรอกไซด์ : โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตอิ่มตัว
สารลูมินอลจะทำปฏิกิริยากับไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ เป็นกระบวนการที่พลังงานของสารเริ่มต้นมากกว่าสารผลิตภัณฑ์ ทำให้โมเลกุลคายพลังงานที่เหลือออกมาในรูปแบบของโฟตอนแสง โดยเหล็กที่อยู่ในฮีโมโกลบินในเลือดจะเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ทำให้การเรืองแสงเด่นชัดขึ้น เรียกกระบวนการนี้ว่า “Chemiluminescence”

วันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

บทความวิทยาศาสตร์-2[ไข่ขาวVSไข่แดง ไข่สุกVSไข่ดิบ]

  ความเชื่อเรื่องการรับประทานไข่ดิบหรือการโดบด้วยไข่ดิบแล้วจะให้กำลังที่มากกว่านั้นยังมีอยู่มาก แต่ในความเป็นจริงแล้วไข่ดิบหรือไข่สุก ไม่ได้มีปริมาณสารอาหารอะไรที่แตกต่างกันเลย ถ้าใครสงสัยว่าจริงหรือไม่
ไข่ขาวVSไข่แดง
  ไข่ขาวนั้นถือได้ว่าแทบไม่มีไขมัน รวมทั้งยังให้ปริมาณแคลอรี่ที่ต่ำมากเพียง 48 แคลอรี่ ส่วนไข่แดงนั้นมีไขมันถึง 26.5 กรัม และมีแคลอรี่สูงถึง 317 แคลอรี่ ทำให้ไข่แดงนั้นมีกรดไขมันอย่างโอเมก้า3 228 มิลลิกรัม และโอเมก้า6 3,538 มิลลิกรัม ส่วนไข่ขาวไม่มีเลย นอกจากนั้นไข่แดงยังมีปริมาณคลอเรสเตอรอล 1,234 มิลลิกรัม ในขณะที่ไข่ขาวไม่มีเลย รวมทั้งปริมาณแร่ธาตุต่างๆไข่แดงก็มีมากกว่าไข่ขาวทุกอย่าง ยกเว้นปริมาณโซเดียม ที่ไข่ขาวมีมากกว่าไข่แดง 4 เท่า
  โดยสรุปได้ว่าไข่ขาวนั้นให้พลังงานน้อยกว่าไข่แดง แต่ว่าไข่แดงนั้นมีแร่ธาตูมากกาว่าไข่ขาว
ไข่สุกVSไข่ดิบ
 เมื่อเปรียบเทียบปริมาณสารอาหารของไข่ไก่ดิบ และไข่ไก่สุกที่ผ่านกระบวนการจากการลวกหรือต้มให้สุกนั้นพบว่าปริมาณสารอาหารต่างๆไม่แตกต่างกันเลย จากข้อมูลนี้เองจึงบอกได้ว่าปริมาณสารอาหารที่ได้จากการโดบด้วยไข่ดิบนั้นไม่ได้มีผลใดๆต่างจากไข่สุกเลย

  ไข่ดิบยังนำพาเชื้อโรค มาให้ผู้บริโภคได้อีกด้วย เพราะอาจปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ โดยเฉพาะไก่ที่เลี้ยงในฟาร์มที่ไม่ถูกสุขลักษณะนั้นจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงของการปนเปื้อนจากเชื้อแบคทีเรีย Salmonella ที่ก่อให้เกิดอาการท้องร่วงได้
  และสุดท้ายเมื่อดูโทษจากการบริโภคไข่ขาวดิบ กรมอนามัยรายงานว่า “ไข่ขาวดิบ” จะขัดขวางการดูดซึมไบโอติน ทำให้ย่อยยากร่างกายจึงได้รับประโยชน์ไม่เต็มที่ ไบไอติน (Biotin) หรือวิตามิน H เปนวิตามินที่ละลายน้ำ และถูกจัดใหอยูในกลุมเดียวกันกับวิตามินบี แบคทีเรียที่อาศัยอยูในลําไสใหญของเราจะสามารถสรางไบโอติน เพื่อใชประโยชนในรางกายของเราได รวมถึงในอาหารที่รับประทานมักจะมีไบโอตินเพียงพอ 

สรุป ไข่ขาวนั้นจะได้พลังงานน้อยกว่าและได้โปรตีนมากกว่าแต่จะเสื่ยงต่อการติดเชื้อจากแบคทีเรียต่างๆได้ง่ายกว่า

วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

บทความวิทยาศาสตร์-1[น้ำทะเล]

น้ำทะเล
  1.เพราะเหตุน้ำทะเลถึงเค็ม
นั่นก็เป็นเพราะว่า ในการหมุนเวียนของวัฏจักรของน้ำ โดยน้ำทะเลจัดเป็นสารละลายอ่อนๆของสารหลายอย่าง ซึ่งเป็นทั้งสารละลายเกลือแร่ธาตุที่มีความหลากหลาย รวมกับสสารทางชีววิทยาที่เน่าเปื่อยผุพังของสิ่งมีชีวิตในทะเล เกลือในมหาสมุทรส่วนใหญ่นั้นมาจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆของการสลายสารที่ทำให้หินอัคนีเย็นตัวลง การกัดกร่อนทางกายภาพทั้งจากพื้นดิน ภูเขาสูง ละลายรวมตัวกันโดยฝน และไอน้ำในอากาศ ชะสารต่างๆเหล่านี้ให้ไหลลงสู่ทะเล และเกลือบางส่วนก็ละลายจากหิน และตะกอนจากพื้นดิน นอกจากนี้เกลืออีกส่วนก็อาจมาจากของแข็ง หรือแก๊สที่เกิดจากการแตกตัวของเปลือกโลก เช่น การเกิดภูเขาไฟระเบิด หรือจากชั้นบรรยากาศ เป็นต้น

  2.น้ำจืดก็ไหลลงไปรวมกับน้ำเค็มทำไมน้ำเค็มยังมีความเค็ม
น้ำจืดที่ไหลมาตามแม่น้ำนั้นก็คือน้ำที่มีความเข้มข้นของแร่ธาตุ และแร่ธาตุนั้นเมื่อรวมกันมากๆจะทัให้เกิดความเค็มได้ เช่น ในประเทศสหรัฐอเมริกามีการไหลของแม่น้ำและมีอัตราการพาตะกอนแร่ธาตุลงสู่ทะเล ปริมาณ500-700ล้านตันต่อปีซึ่งถ้าเทียบเป็นความเข้มข้นจะถือว่าตะกอนแร่ธาตุนั้นมีการเจือจางมาก
 เมื่อเริ่มแรกทะเลก็ยังมีความเค็มไม่มาก แต่เมื่อผ่านกาลเวลามายาวนานเป็นร้อยล้านปีทะเลจึงมีความเค็มมากยิ่งขึ้น โดยเฉลี่ยทั่วโลกแล้วในปีหนึ่งจะมีเกลือประมาณ 4 พันล้านตันละลายเข้าสู่ทะเล ซึ่งในส่วนนี้ก็จะมีเกลือบางส่วนที่ตกตะกอนลงสู่ก้นทะเล มากน้อยแตกต่างกันไปในแต่ละปี หรือพูดง่ายๆว่าทะเลในวันนี้มีความสมดุลของความเค็มจากเกลือที่เข้ามาและออกไป นั่นเองอาจเป็นหนึ่งคำตอบที่ว่า “ทำไมน้ำทะเลถึงไม่เค็มกว่านี้อีก”
  3.ตะกอนและแร่ธาตุต่างๆในน้ำทะเล

วันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ปัจจัยที่มีผลต่อสภาวะสมดุล

ปัจจัยที่มีผลต่อสภาวะสมดุล
                ที่สภาวะสมดุลสมบัติของสารต่างๆในระบบสามารถถูกรบกวนได้จากปัจจัยภายนอก อันได้แก่ ความเข้มข้น อุณหภูมิ และความดัน ทำให้ระบบเกิดการเสียสมดุล ดังนั้นระบบจึงต้องมีการปรับตัวเข้าสู่สภาวะสมดุลใหม่อีกครั้งหนึ่ง เพื่อลดผลของการรบกวนนั้น โดยผู้ที่ศึกษาในเรื่องของการรบกวนสมดุลและสรุปไว้เป็นหลักเกณฑ์ไว้คือ เลอชาเตอริเย
                ความเข้มข้นกับภาวะสมดุล
                ถ้าให้สมการเคมีทั่วไปเป็น             A + B              C + D
                หากมีการไปรบกวนสภาวะสมดุลของระบบ โดยการไปเปลี่ยนความเข้มข้นของสารตัวใดตัวหนึ่ง จะทำให้ระบบมีการปรับตัวเข้าสู่สภาวะสมดุลใหม่ได้ดังนี้
            .     ถ้าเพิ่มความเข้มข้นของสารตั้งต้น (A หรือ B)
                        ระบบจะปรับตัวเข้าสู่สภาวะสมดุลใหม่ เพื่อลดความเข้มข้นของสารที่เติมเข้าไป (Aหรือ Bโดยสารตั้งต้นจะทำปฏิกิริยากันมากขึ้น ส่งผลให้ปฏิกิริยาเกิดไปข้างหน้าเพิ่มมากขึ้น จึงได้สารผลิตภัณฑ์ C และ D เข้มข้นมากขึ้น (สมดุลเลื่อนไปทางขวา)
                .     ถ้าเพิ่มความเข้มข้นของสารผลิตภัณฑ์ (C หรือ D)
                        ระบบจะปรับตัวเข้าสู่สภาวะสมดุลใหม่ เพื่อลดความเข้มข้นของสารที่เติมเข้าไป (Cหรือ Dโดยสารผลิตภัณฑ์ คือ C และ D ทำปฏิกิริยากันมากขึ้น ส่งผลให้เกิดปฏิกิริยาย้อนกลับได้มากขึ้น ทำให้ได้สารตั้งต้น A และ B เข้มข้นมากขึ้น (สมดุลเลื่อนไปทางซ้าย)
                .     ถ้าลดความเข้มข้นของสารตั้งต้น (A หรือ B)
                        ระบบจะปรับตัวเข้าสู่สภาวะสมดุลใหม่  เพื่อเพิ่มความเข้มข้นของสารตั้งต้นให้มากขึ้น  โดยสารผลิตภัณฑ์ C และ D ทำปฏิกิริยากันเกิดปฏิกิริยาย้อนกลับได้มากขึ้น  (สมดุลเลื่อนไปทางซ้าย)
                .     ถ้าลดความเข้มข้นของสารผลิตภัณฑ์ (C หรือ D)
                        ระบบจะปรับตัวเข้าสู่สภาวะสมดุลใหม่  เพื่อเพิ่มความเข้มข้นของสารผลิตภัณฑ์ให้มากขึ้น  โดยสารตั้งต้น A และ B ทำปฏิกิริยากันเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้าเพิ่มมากขึ้น  (สมดุลเลื่อนไปทางขวา)

วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

Chemical Equilibrium

ปัจจัยที่มีผลต่อสภาวะสมดุล
                ที่สภาวะสมดุลสมบัติของสารต่างๆในระบบสามารถถูกรบกวนได้จากปัจจัยภายนอก อันได้แก่ ความเข้มข้น อุณหภูมิ และความดัน ทำให้ระบบเกิดการเสียสมดุล ดังนั้นระบบจึงต้องมีการปรับตัวเข้าสู่สภาวะสมดุลใหม่อีกครั้งหนึ่ง เพื่อลดผลของการรบกวนนั้น โดยผู้ที่ศึกษาในเรื่องของการรบกวนสมดุลและสรุปไว้เป็นหลักเกณฑ์ไว้คือ เลอชาเตอริเย
                ความเข้มข้นกับภาวะสมดุล
                ถ้าให้สมการเคมีทั่วไปเป็น             aA + bB              cC + dD

                หากมีการไปรบกวนสภาวะสมดุลของระบบ โดยการไปเปลี่ยนความเข้มข้นของสารตัวใดตัวหนึ่ง จะทำให้ระบบมีการปรับตัวเข้าสู่สภาวะสมดุลใหม่ได้ดังนี้
ถ้าเพิ่มความเข้มข้นของสารตั้งต้น (A หรือ B)
                        ระบบจะปรับตัวเข้าสู่สภาวะสมดุลใหม่ เพื่อลดความเข้มข้นของสารที่เติมเข้าไป (Aหรือ Bโดยสารตั้งต้นจะทำปฏิกิริยากันมากขึ้น ส่งผลให้ปฏิกิริยาเกิดไปข้างหน้าเพิ่มมากขึ้น จึงได้สารผลิตภัณฑ์ C และ D เข้มข้นมากขึ้น (สมดุลเลื่อนไปทางขวา)
ถ้าเพิ่มความเข้มข้นของสารผลิตภัณฑ์ (C หรือ D)
                        ระบบจะปรับตัวเข้าสู่สภาวะสมดุลใหม่ เพื่อลดความเข้มข้นของสารที่เติมเข้าไป (Cหรือ Dโดยสารผลิตภัณฑ์ คือ C และ D ทำปฏิกิริยากันมากขึ้น ส่งผลให้เกิดปฏิกิริยาย้อนกลับได้มากขึ้น ทำให้ได้สารตั้งต้น A และ B เข้มข้นมากขึ้น (สมดุลเลื่อนไปทางซ้าย)
ถ้าลดความเข้มข้นของสารตั้งต้น (A หรือ B)
                        ระบบจะปรับตัวเข้าสู่สภาวะสมดุลใหม่  เพื่อเพิ่มความเข้มข้นของสารตั้งต้นให้มากขึ้น  โดยสารผลิตภัณฑ์ C และ D ทำปฏิกิริยากันเกิดปฏิกิริยาย้อนกลับได้มากขึ้น  (สมดุลเลื่อนไปทางซ้าย)
ถ้าลดความเข้มข้นของสารผลิตภัณฑ์ (C หรือ D)
                        ระบบจะปรับตัวเข้าสู่สภาวะสมดุลใหม่  เพื่อเพิ่มความเข้มข้นของสารผลิตภัณฑ์ให้มากขึ้น  โดยสารตั้งต้น A และ B ทำปฏิกิริยากันเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้าเพิ่มมากขึ้น  (สมดุลเลื่อนไปทางขวา)